การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP)

Main Article Content

ชาริณี พลวุฒิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สำรวจสภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) 2. ศึกษาการปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) 3. พัฒนารูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคอีสานตอนบนตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) และ 4. ขับเคลื่อนและประเมินผลรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนเกษตรทดลองนำร่องในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบของการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่าง เกษตรกรในพื้นที่อีสานตอนบนผู้ผลิตพืชอินทรีย์ จำนวน 237 ครัวเรือน ด้วยการแจกแบบสำรวจข้อมูลและนำมาทำการวิเคราะห์ค่าสถิติร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ตัวแทนเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน แล้วนำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ด้วยการตีความเชิงอุปนัยและการวิเคราะห์เชิงตรรกะแล้วใช้การพรรณนาความ ผลของการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) การใช้เทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นการเกษตรที่ปฏิบัติแบบสืบต่อกันมา (ดั้งเดิม) ใช้รูปแบบการผลิตแบบดั่งเดิม 2) เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) เกษตรกรให้ความสนใจเทคโนโลยีที่เป็นวิธีการที่ถูกคิดขึ้นมาเพื่อพัฒนาปรับปรุงการผลิตให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่เทคโนโลยีการเตรียมดินตลอดจนการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว และเทคโนโลยีที่เป็นเครื่องมือ สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่นำมาใช้เพื่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4) เกษตรกรให้ความสนใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์รูปแบบใหม่ไปปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่ เทคนิคในกิจกรรมทางการเกษตรในรูปแบบต่างๆ เช่น ระบบ Smart Farm ปลอดสารพิษ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีปลอดภัยจากสารพิษ และเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มคนรักสุขภาพที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในกระบวนการผลิต

Article Details

บท
๑. บทความวิจัย (Research Article)