Journal of Applied Education https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE <p>Journal of Applied Education ISSN: 2985-2307 (Online) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และด้านอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการศึกษา รวมทั้งสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา เผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่<br /> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong> Journal of Applied Education มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ ดังนี้<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br />- ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน <br />- ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม<br />- ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม<strong> </strong></p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong>เปิดรับบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ <strong>โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong></p> <p><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) โดยมีขั้นตอนดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน<br /> 2) บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 2 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ<br /> 3) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 2 ท่าน<br /> 4) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</p> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ<br /></strong> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 2 ท่าน<br /> 2) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ<br /> 3) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์<br /> 4) เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</p> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์:<br /></strong> ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ ฯลฯ) ID Line: ben_lowz โทร. 080-2241454 (นางสาวศิโรรัตน์ ประศรี), 081-6015934 (ผศ. ดร.ประยูร แสงใส)</p> th-TH prasrisirorat@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประยูร แสงใส) prasrisirorat@gmail.com (นางสาวศิโรรัตน์ ประศรี) Tue, 29 Oct 2024 15:46:01 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/963 <p>บทความนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคดิจิทัลเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนเปลี่ยนแปลงไป บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงการวิเคราะห์ประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้สื่อเหล่านี้ จากการศึกษาพบว่า สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้หลากหลายด้าน อาทิ การใช้เทคโนโลยี การรู้เท่าทันสื่อ การคิดเชิงวิพากษ์ การทำงานร่วมกัน การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการบริหารเวลาและงาน ผู้เรียนสามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการค้นคว้าข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น นอกจากนี้ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ยังช่วยส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการพัฒนาทักษะใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว, ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ, ทิชพร นามวงศ์ Copyright (c) 2024 Journal of Applied Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/963 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1129 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 จําแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก 155 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟชนิดความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ พบว่า ครูที่มีเพศและวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ทำงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ประภาภรณ์ ภูขาว Copyright (c) 2024 Journal of Applied Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1129 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1130 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกลุ่มเพ็ญ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน</p> พระมหาพิสิฐ วิสิฎฺฐปญฺโญ Copyright (c) 2024 Journal of Applied Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1130 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1128 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ไม่แตกต่างกัน</p> ศศิรดา แพงไทย Copyright (c) 2024 Journal of Applied Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1128 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/768 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 จําแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 260 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสําเร็จรูปของ Krejcie &amp; Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟชนิดความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ พบว่า ครูที่มีเพศและวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ทำงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> พระมหาอำพล ธนปญฺโญ (ชัยสารี) Copyright (c) 2024 Journal of Applied Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/768 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700