https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/issue/feed Journal of Applied Education 2025-02-26T21:32:56+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประยูร แสงใส prasrisirorat@gmail.com Open Journal Systems <p>Journal of Applied Education ISSN: 2985-2307 (Online) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และด้านอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการศึกษา รวมทั้งสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการศึกษา เผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่<br /> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong> Journal of Applied Education มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ ดังนี้<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br />- ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน <br />- ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม<br />- ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม<strong> </strong></p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ มีอัตราค่าตีพิมพ์ ดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาไทย) บทความละ 4,000 บาท<br /> 2) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาอังกฤษ) บทความละ 6,000 บาท<br /> โดยผู้เขียนจะต้อง กรอก <strong>“<a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">แบบขอส่งบทความตีพิมพ์</a>”</strong> และชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว และส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินพิจารณาบทความ <strong>(เก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Review)</strong> อนึ่ง การพิจารณารับบทความเพื่อลงตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ อยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด</p> <p><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) โดยมีขั้นตอนดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน<br /> 2) บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ<br /> 3) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 3 ท่าน<br /> 4) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</p> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ<br /></strong> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน<br /> 2) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ<br /> 3) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์<br /> 4) เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</p> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์:</strong></p> <ol> <li>ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์, ค่าใช้จ่ายฯลฯ) ID Line: ben_lowz โทร. 080-2241454 (นางสาวศิโรรัตน์ ประศรี), 081-6015934 (ผศ. ดร.ประยูร แสงใส)</li> <li>เตรียมต้นฉบับบทความ</li> </ol> <p> - เทมเพลตบทความวิจัย <a href="https://docs.google.com/document/d/1FQs8BBLd_pdaQ1HtRtT3M3rBSAZlYLw3/edit">คลิก </a> <br /> - เทมเพลตบทความวิชาการ <a href="https://docs.google.com/document/d/1xx3geiJ1fBLpQyA7TTPB1fXx59tJwUSs/edit">คลิก</a><br /> - เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ <a href="https://docs.google.com/document/d/1_S0oqicRT4km1k_8InoEGKCJC1I7Hto0/edit">คลิก</a></p> <ol start="3"> <li>ส่งบทความต้นฉบับในระบบวารสาร <a href="https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE">https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE</a></li> <li>กรอก “แบบขอส่งบทความตีพิมพ์” จาก <a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">คลิก</a></li> <li>ส่งสำเนาเอกสารในระบบ Google forms ที่ <a href="https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit">https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit</a></li> </ol> <p> 6. สมัครเข้า line กลุ่มวารสาร เพื่อติดต่อประสานงาน ที่ <a href="https://line.me/R/ti/g/XsQtTe4s2b">https://line.me/R/ti/g/XsQtTe4s2b</a></p> <p> </p> https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1337 บทวิจารณ์หนังสือ “แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” 2025-01-14T15:08:57+07:00 เตชวัน ปัญญาวุฒิธรรม tachawan1999@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำหนังสือเรื่อง “แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” เขียนโดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งใช้ฐานความรู้จากหนังสือ Bringing living heritage to the classroom in Asia-Pacific: a resource kit โดยนำมาบูรณาการกับองค์ความรู้ในบริบทประเทศไทย หนังสือนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการบูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่การจัดการเรียนรู้ แบ่งการนำเสนอออกเป็น 5 บท เริ่มตั้งแต่เนื้อหาเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้งในบริบทสากลและบริบทประเทศไทย ก่อนจะนำเสนอแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่สัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แล้วจึงเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และตัวอย่างการดำเนินการและแผนการจัดการเรียนรู้ในการบูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่การจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงานจริงของครูในประเทศไทยและประเทศลาว โดยเนื้อหาในหนังสือขาดประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้ปกครองและสมาชิกในชุมชน บทบาทของผู้อำนวยการหรือผู้จัดการโรงเรียน และบทบาทของผู้กำหนดนโยบายในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้สมบูรณ์ได้ในอนาคต</p> 2025-02-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 Journal of Applied Education https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1383 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมสาระภูมิศาสตร์ เรื่องรอบรู้ภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2025-02-14T11:40:42+07:00 อนุสิทธิ์ ลัทธิพรหม loveanoosit@gmail.com กรวิภา สรรพกิจจำนง kornveepa@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาค่าประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด ท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ เรื่อง รอบรู้ภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์กับการสอนแบบปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประทุมทายการาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ยกห้องเรียน โดยใช้วิธีการจับสลาก กลุ่มทดลองคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 33 คนเรียนโดยใช้หนังสือ เสริมประสบการณ์ และกลุ่มควบคุมคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 33 คน เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) หนังสือเสริมประสบการณ์ชุดท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รอบรู้ภูมิศาสตร์ และ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องรอบรู้ภูมิศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test independent) ผลการศึกษาพบว่า 1) หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด ท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.17/83.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา สาระภูมิศาสตร์ เรื่อง รอบรู้ภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุด ท่องโลกกว้างไปกับภูมิศาสตร์สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> 2025-02-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 Journal of Applied Education https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1394 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2025-02-14T11:40:20+07:00 ปารวี ชูบุญเรือง kad051139@gmail.com กรวิภา สรรพกิจจำนง kornveepa@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาค่าประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การสถาปนากรุงสุโขทัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ (2) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างวิธีการสอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การสถาปนากรุงสุโขทัยกับการสอนแบบปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมานุกูล ปีการศึกษา 2567 ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม ยกห้องเรียน โดยใช้วิธีการจับสลาก กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 35 คน สอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) และกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 จำนวน 35 คน สอนโดยใช้การสอนแบบปกติ เครื่องมือในการวิจัย คือ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การสถาปนากรุงสุโขทัย (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test independent) ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการสถาปนากรุงสุโขทัย ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิชาประวัติศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.54/82.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดของ E1/E2 คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการสถาปนากรุงสุโขทัย สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> 2025-02-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 Journal of Applied Education https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1375 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2025-02-14T11:40:01+07:00 ฤทัยวรรณ สุวพนาวิวัฒน์ ruethaiwan@hotmail.com อลงกรณ์ อัศวโสวรรณ Suwaphat2591@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ จำนวน 62 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ดำเนินการวิจัยเชิงทดลองแบบกึ่งทดลองโดยมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและแบบเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2025-02-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 Journal of Applied Education https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1247 การก้าวสู่ความเป็นผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 2024-11-21T15:42:34+07:00 ศักธินันท์ ศรีหาบงค์ mahakitti2017@gmail.com พระมหากิตติ กิตฺติเมธี mahakitti2017@gmail.com <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับการก้าวสู่ความเป็นผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาจึงเป็นประเด็นที่ต้องได้รับการศึกษาและพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษามีความพร้อมในการนำองค์กรการศึกษาไทยสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล การศึกษาในประเด็นนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงความหลากหลายของบริบทสถานศึกษาในประเทศไทย ทั้งในเขตเมืองและชนบท รวมถึงความแตกต่างของระดับการศึกษาและขนาดของสถานศึกษา เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในบริบทที่แตกต่างกัน การพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลยังเกี่ยวข้องกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้บริหารสถานศึกษาไม่เพียงแต่ต้องมีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้บุคลากรในสถานศึกษาเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ จึงควรให้ความสำคัญกับการศึกษาแนวทางการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลในสถานศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะและความรู้ของผู้บริหาร ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรได้รับการพิจารณาในการศึกษาแนวทางการก้าวสู่ความเป็นผู้นำยุคดิจิทัลคือ การสร้างความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา การสร้างเครือข่ายความร่วมมือนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถเข้าถึงทรัพยากร ความรู้ และแนวปฏิบัติที่ดีในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน</p> 2025-02-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 Journal of Applied Education