วารสารสถาบันพอดี https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J <p><strong>Online ISSN: 3027-8023</strong></p> <p><strong>วาระการตีพิมพ์</strong></p> <p>วารสารสถาบันพอดี มีวาระการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 12 ฉบับ ได้แก่</p> <table> <tbody> <tr> <td width="228"> <p>- ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม</p> </td> <td width="240"> <p>- ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์</p> </td> </tr> <tr> <td width="228"> <p>- ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมีนาคม</p> </td> <td width="240"> <p>- ฉบับที่ 4 ประจำเดือนเมษายน</p> </td> </tr> <tr> <td width="228"> <p>- ฉบับที่ 5 ประจำเดือนพฤษภาคม</p> </td> <td width="240"> <p>- ฉบับที่ 6 ประจำเดือนมิถุนายน</p> </td> </tr> <tr> <td width="228"> <p>- ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกรกฎาคม</p> </td> <td width="240"> <p>- ฉบับที่ 8 ประจำเดือนสิงหาคม</p> </td> </tr> <tr> <td width="228"> <p>- ฉบับที่ 9 ประจำเดือนกันยายน</p> </td> <td width="240"> <p>- ฉบับที่ 10 ประจำเดือนตุลาคม</p> </td> </tr> <tr> <td width="228"> <p>- ฉบับที่ 11 ประจำเดือนพฤศจิกายน</p> </td> <td width="240"> <p>- ฉบับที่ 12 ประจำเดือนธันวาคม</p> </td> </tr> </tbody> </table> <p> </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></p> <p> วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมบทความวิจัยและบทความวิชาการ จำนวน 3,000 บาท(สามพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ กรุณาชำระค่าธรรมเนียม หลังจากวารสารได้พิจารณาความถูกต้องและเหมาะสมให้กับบทความของท่านแล้วและเห็นว่าบทความของท่านสมควรนำส่งเข้าสู่ระบบเพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจพิจารณาบทความของท่านต่อไป วารสารจะไม่คืนค่าธรรมเนียมให้ทุกกรณี หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามสามารถติดต่อบรรณาธิการได้ตามช่องทางติดต่อนี้</p> <p><strong>Phone:</strong> 081-815-0908<br /><strong>ID Line:</strong> 0818150908</p> <p><strong>ผศ.ดร.เมธา หริมเทพาธิป (</strong><strong>บรรณาธิการวารสาร)</strong></p> <p> </p> <p> </p> มูลนิธิสหธรรมิกชน (Sahadhammikchon Foundation) 429/129 ถนนสรงประภา แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศัพท์ : 091-778-1032, 089-983-9333 อีเมล : shdm.foundation@gmail.com th-TH วารสารสถาบันพอดี 3027-8023 ปัญญาบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1211 <p> บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์ปัญญาบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญญาบารมีในบริบทของมรรคมีองค์ 8 มีลักษณะที่มุ่งเน้นความสมดุลของการดำรงชีวิตอย่างไม่สุดโต่งทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นทางสายกลางที่มุ่งไปสู่ความดับทุกข์ 2. ปัญญาบารมีในบริบทของภาวนา 4 มีลักษณะที่มุ่งเน้นไปทางปัญญาปฏิบัติในเชิงจริยศาสตร์ เป็นเรื่องของการฝึกฝนจนเกิดความเคยชินเป็นอุปนิสัยติดตัวหรือเกิดเป็นคุณธรรมประจำใจทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา โดยมีความดับทุกข์เป็นเป้าหมาย 3. ปัญญาบารมีในบริบทของพละ 5 มีลักษณะที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของพลังแห่งความเข้าใจที่สร้างความมั่นคงจากภายใน เติมเต็มสิ่งที่ขาดพร่องอันเนื่องมาจากการครอบงำของกิเลส เป็นพลังบารมีที่ช่วยสะสางความเศร้าหมองมืดมนให้สว่างไสว ตื่นออกจากความหลงผิด รู้แจ้งแทงตลอดในสัจธรรม เกิดความเบิกบานอันเกิดจากการดำรงตนไปสู่ความดับทุกข์ เกิดการพัฒนาตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นใจที่ตรงต่อธรรม มีความเพียรพยายาม มีสติ มีความมุ่งมั่น มีปัญญาในการแก้ปัญหาและพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง</p> สิรินทร์ กันยาวิริยะ ชิสา กันยาวิริยะ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-30 2024-11-30 1 11 34 44 คุณภาพชีวิตในการทำงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1208 <p> บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพชีวิตในการทำงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางมีความเป็นองค์รวม ขับเคลื่อนด้วยพลังสร้างสรรค์ พลังปรับตัว พลังร่วมมือ และพลังแสวงหา โดยสามารถดำเนินการตามแนวทางสำคัญได้ดังนี้ 1) การสร้างความสมดุล 2) ความยืดหยุ่น 3) การสร้างความร่วมมือและการสนับสนุน 4) การปรับตัวและการคิดสร้างสรรค์ และ 5) การแสวงหาความรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการตามแนวทางนี้สามารถช่วยให้องค์กรและหน่วยงานภาครัฐส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ยั่งยืน ตอบสนองต่อหลักการของปรัชญาหลังนวยุคสายกลางซึ่งเน้นการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงานและสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรและสังคมโดยรวม</p> พจนา มาโนช Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-30 2024-11-30 1 11 1 14 การประยุกต์หลักอริยสัจ 4 กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1204 <p> บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์หลักอริยสัจ 4 กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า หลักอริยสัจ 4 ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากการให้ผู้เรียนตระหนักถึงปัญหาหรือ “ทุกข์” ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ตามด้วยการค้นหาสาเหตุหรือ “สมุทัย” เพื่อวิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหา จากนั้นนำเสนอแนวทางการแก้ไขที่เป็นไปได้ในลักษณะ “นิโรธ” และสุดท้ายคือการนำแนวทางเหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบหรือ “มรรค” ซึ่งกระบวนการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ยังส่งเสริมการพัฒนาทางด้านจิตใจและจริยธรรม อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยหลักหลักอริยสัจ 4 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของหลักปรัชญาทางพระพุทธศาสนาในการสนับสนุนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ โดยการประยุกต์ใช้หลักการอริยสัจ 4 สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนตามหลักอริยสัจ 4 ได้แก่ 1) การระบุและทำความเข้าใจปัญหา (ทุกข์) 2) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (สมุทัย) 3) การหาแนวทางแก้ไขและคาดหวังผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ (นิโรธ) 4) การวางแผนและดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ (มรรค) ในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ช่วยให้ผู้เรียนไม่เพียงเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาทางวิชาการ แต่ยังเข้าใจต้นเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาในลักษณะที่ครอบคลุมด้านจิตใจและพฤติกรรมด้วย องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ “การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยหลักหลักอริยสัจ 4” ประกอบด้วย 1) การระบุและทำความเข้าใจปัญหา (ทุกข์) 2) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (สมุทัย) 3) การหาแนวทางแก้ไขและคาดหวังผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ (นิโรธ) 4) การวางแผนและดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ (มรรค)</p> ชิสา กันยาวิริยะ สิรินทร์ กันยาวิริยะ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-30 2024-11-30 1 11 15 24 การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 12 : บริการรวมที่จุดเดียว https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1201 <p> บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 12 คือ บริการรวมที่จุดเดียว ผลการศึกษาพบว่า การบริการรวมที่จุดเดียว เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงบริการจากหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรต่าง ๆ โดยลดความซับซ้อนของขั้นตอนการดำเนินการ รวบรวมบริการหลากหลายประเภทไว้ในจุดเดียว ทำให้ประชาชนสามารถรับบริการครบถ้วนในที่เดียวโดยไม่ต้องเดินทางหลายแห่งหรือผ่านกระบวนการที่ยุ่งยาก หลักการนี้สอดคล้องกับแนวคิดของการบริหารจัดการที่เน้นความโปร่งใส ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของผู้รับบริการ ซึ่งสะท้อนถึงความเข้าใจในความต้องการของประชาชนและบริบทของสังคม จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมุ่งเน้นการสร้างระบบที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายและสะดวกที่สุด โดยไม่ต้องเผชิญกับขั้นตอนที่ซับซ้อนหรือการประสานงานที่ไม่เป็นระบบ การบริการรวมที่จุดเดียวจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การลดขั้นตอน แต่ยังเป็นการสร้างความไว้วางใจในระบบบริการของรัฐ อีกทั้งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานนี้ในบริบทปัจจุบัน สามารถทำได้หลายรูปแบบ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะของปัญหาและความคาดหวังของประชาชน จากนั้นจึงดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการที่รวมฟังก์ชันการให้บริการที่เกี่ยวข้องไว้ในจุดเดียว พร้อมด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนับสนุนกระบวนการทำงานในการตรวจสอบเอกสาร การแจ้งผล หรือการติดตามสถานะบริการ</p> ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-30 2024-11-30 1 11 45 58